หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

เครื่องหั่นย่อยขนาดเล็ก MJU-EB3 รุ่นใหม่

รายละเอียดของเครื่องหั่นย่อยขนาดเล็ก  
1. ต้นกำลัง ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 แรงม้า แรงดันไฟฟ้า 220 V พร้อมอุปกรณ์เพื่อควบคุมการสตาร์ทมอเตอร์และใช้ป้องกันกระแสไม่ให้ไหลผ่านเกินพิกัดที่กำหนด ถ้าเกินค่าที่กำหนด   โอเวอร์โหลดจะตัดตอนวงจร หรือใช้เครื่องยนต์เบนซิน กำลังสุทธิ 3.4 แรงม้า
2. ขนาดตัวเครื่องโดยประมาณ กว้าง 0.8 เมตร  ยาว 1.1 เมตร สูง 1.1 เมตร
3. ใบมีดหั่น จำนวน 2 ใบ สำหรับหั่นกิ่งไม้   ใบตี 2 ใบ และใบมีดตี 2 ใบ
4. สามารถเปลี่ยนตะแกรงได้ โดยตะแกรงเหล็ก มีรูขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตรและ 25  มิลลิเมตร


สนใจติดต่อ
รองศาสตราจารย์ บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร 
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 
โทร             053-878123       หรือ             081-5954432       โทรสาร             053-498902      
E-mail : bandit_h@hotmail.com

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.machinery.mju.ac.th




                                         กิ่งมะม่วง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว  (ประมาณ ข้อมือ)



กิ่งมะม่วงที่ย่อยแล้วเสร็จ

การทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย ตอนที่ 2 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
          กิ่งไม้ใบไม้ที่ผ่านการย่อยแล้วนอกจากนำมาทำปุ๋ยหมักตามหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว          ยังสามารถนำทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารได้อีกด้วย โดยกระบวนการได้นำแนวความคิดมาจากคุณกิตติ เจริญพานิช เจ้าของร้านอาหารเรือนผักกูด ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้
1. นำบ่อปูนซีเมนต์(บ่อส้วมที่ปลายทั้งสองข้างไม่มีฝา) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 เซนติเมตร เมตร สูง 50 เซนติเมตร มาวางบนอิฐหรือลูกปูน ให้ขอบล่างของบ่อปูนซีเมนต์อยู่สูงจากพื้นดิน 15 เซนติเมตร
2. นำใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วมาใส่ในบ่อปูนซีเมนต์ให้สูง 40 เซนติเมตร แล้วนำเศษอาหารมาเทใส่โดยความสูงของเศษอาหารไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร (เมื่อใส่เศษอาหารลงไปใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วที่อยู่ด้านล่างจะยุบตัวลง) แล้วนำใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วมาเททับอีกครั้ง โดยให้มีความสูงประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร  หรืออาจใส่เศษอาหารเป็นชั้นๆ ก็ได้ โดยใส่เศษอาหารสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วนำใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วมาเททับอีกครั้ง โดยให้มีความสูงประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร 
3. ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์
4. ใช้พลั่วตักปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งกองอยู่ด้านล่างของบ่อปูนซีเมนต์ไปใช้งานได้เลย
5. ในระหว่างช่วงเวลาการหมัก กองปุ๋ยจะยุบตัวลง เราสามารถนำเศษอาหารมาเติมลงไปแล้วก็นำใบไม้ที่ย่อยมาเททับตามขั้นตอนที่ 2 เป็นชั้นๆ ได้เรื่อยๆ






การทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย ตอนที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากกิ่งไม้ใบไม้ที่ผ่านการย่อย

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากกิ่งไม้ใบไม้อย่างง่ายดังนี้
1. นำกิ่งไม้ใบไม้ที่ผ่านการย่อยแล้วมาเทใส่ในถังตาข่าย สูงประมาณ 15 เซนติเมตร
2. นำขี้วัวมาเททับใบไม้ที่ย่อยแล้ว สูงประมาณ 5 เซนติเมตร
3. รดน้ำในให้ชุ่ม (น้ำประมาณ 5 ลิตร)
4. ทำซ้ำข้อ 1-3 อีก 3 ครั้ง จะได้กองปุ๋ยหมักสูงประมาณ 80 เซนติเมตร
5. นำใบไม้ที่ย่อยแล้วมาเททับขี้วัว สูงประมาณ 5 เซนติเมตร
6. รดน้ำในให้ชุ่ม (น้ำประมาณ 5 ลิตร)
7. นำพลาสติกใสมาพันรอบถังตาข่าย โดยให้พันสูงจากขอบล่างของถังตาข่าย ประมาณ 10 เซนติเมตร (ถ้าไม่มีพลาสติกก็ไม่ต้องนำมาพันรอบถังก็ได้ แต่ต้องพยายามรดน้ำรอบถังตาข่ายเพื่อเพิ่มความชื้นให้แก่กองปุ๋ยอย่าปล่อยให้แห้ง)
8. รดน้ำทุก ๆ 5-7 วัน  ทำโดยใช้ไม้หรือเหล็กแทงเข้าไปในกองปุ๋ยให้เป็นรู เพื่อที่จะกรอกน้ำลงไปเนื่องจากเมื่อปุ๋ยยุบตัวลงจะมีความแน่นมากขึ้น การรดน้ำจะทำให้น้ำซึมลงไปเฉพาะด้านบนของกองปุ๋ย ส่วนด้านล่างกองปุ๋ยจะไม่ได้รับน้ำ  การใช้ไม้หรือเหล็กแทงเข้าไปในกองปุ๋ยนอกจากจะเป็นการเติมน้ำแล้วยังเป็นการช่วยเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยอีกด้วย
9. ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมัก ในช่วงเวลาประมาณ 45-60 วัน (สังเกตกองปุ๋ยหมักจะยุบตัวลงประมาณ 30-40 เซนติเมตร และปุ๋ยหมักจะมีสีดำ ถ้าขุดลงไปจะไม่พบใบไม้แต่ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมดแล้ว)
10. ปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ได้เลย
11. ถ้าต้องการนำไปบรรจุถุง ต้องล้มกองปุ๋ยหมักแล้วตากแดดประมาณ 2-3 วัน ก็จะได้ปุ๋ยที่แห้งสามารถบรรจุถุงได้  แต่ถ้าปุ๋ยหมักยังมีขนาดใหญ่อยู่ก็นำไปบดย่อยก่อนบรรจุลงถุงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
12. การทำปุ๋ยหมัก 1 ถัง จะใช้ขี้วัวประมาณ 3 กระสอบ (กระสอบอาหารสัตว์ขนาด 30 กิโลกรัม) และการทำปุ๋ยหมักครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องซื้อขี้วัวอีกก็ได้ เราสามารถใช้ปุ๋ยหมักที่เราทำไว้แทนขี้วัวได้เลย